อิฐ (Brick) เป็นวัสดุที่นำมาใช้ด้านงานก่อสร้างเป็นเวลาช้านานมาแล้ว เมื่อสมัยโบราณประมาณ 2,000 ปีมาแล้วอียิปต์เป็นชาติแรกที่ใช้อิฐก่อผนัง ต่อมาพวกบาบิโลเนีย พัฒนาต่อมาเรื่อยๆ อิฐในสมัยโบราณจะทำมาจากดินเหนียว โดยการขึ้นรูปเป็นก้อนอิฐด้วยมือ ซึ่งพบว่าอิฐที่ได้จะมีขนาดไม่เท่ากัน ลักษณะที่ใช้งานแตกต่างจากคอนกรีตในเรื่องความแข็งแรงคือ อิฐที่ใช้ไม่จำเป็นต้องมีความแข็งแรงมาก เพราะใช้งานก่อกำแพงหรืองานเพื่อความสวยงาม และการทำอิฐสำหรับการก่อสร้างของคนไทยได้ทำกันมานานแล้ว โดยส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมครอบครัวในแถบชนบท ซึ่งมีขนาดเล็ก และอิฐที่ผลิตส่วนใหญ่เป็นอิฐมอญ ต่อมาได้มีการตั้งโรงงานใช้เครื่องจักรเข้ามาช่วยมากขึ้น โดยอิฐที่ทำการผลิตมีคุณภาพและประสิทธิภาพมากขึ้น ได้แก่ อิฐบล็อก อิฐมวลเบา อิฐโฟม อิฐแก้ว และกระจกโดยเฉพาะการผลิตอิฐมวลเบาในปัจจุบันได้พัฒนาอิฐมวลเบา สามารถทนไฟได้ดี กันความร้อนได้ การผลิตอิฐใช้ได้ทั้งแรงคนและเครื่องจักรโดยเครื่องจักรจะผลิตอิฐได้ขนาดค่อนข้างมาตรฐาน เรียบร้อยผลิตได้เป็นจำนวนมาก
นับได้ว่าเป็นนวัตกรรมวัสดุก่อสร้างแบบใหม่สำหรับวงการก่อสร้างของไทย ซึ่งได้รับความนิยมอย่างสูงและเป็นทางเลือกใหม่แก่วงการก่อสร้าง เนื่องจากอิฐมวลเบามีคุณสมบัติพิเศษที่แตกต่างจากอิฐชนิดอื่นๆ คือสามารถนำไปใช้สร้างบ้านได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ประหยัดแรงงาน และลดต้นทุนในการดำเนินการก่อสร้าง รวมทั้งสามารถช่วยประหยัดพลังงาน ป้องกันความร้อนได้ดี มีความคงทน และมีอายุการใช้งานนานกว่า 50 ปีและทั้งนี้ยังนิยมใช้ในงานก่อสร้างตึกสูงประเภทอื่นๆ เช่น อาคารสำนักงาน โรงแรม และโรงพยาบาล และทำให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องได้ส่งผลให้ ผลิตภัณฑ์ก่อสร้างทุกประเภทเติบโตโดยเฉพาะผลิตภัณฑ์คอนกรีต มวลเบาหรืออิฐมวลเบาซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมใหม่ด้านวัสดุก่อสร้าง ที่มีอัตราการเติบโตในช่วง 3-4ปีที่ผ่านมา เป็นที่รู้จักในตลาดเพิ่มมากขึ้นขณะที่อิฐมวลเบามีการใช้มานานในต่างประเทศแต่ยังเป็นวัสดุก่อสร้าง แบบใหม่ในประเทศไทย ปัจุบันอิฐมวลเบาเป็นที่รู้จักกันในวงการก่อสร้างและเป็นที่รู้จักและยอมรับในด้านคุณสมบัติที่โดดเด่น จึงมีการเปลี่ยนมาใช้อิฐมวลเบาทดแทนอิฐมอญหรืออิฐบล็อกมากขึ้น
ลักษณะของอิฐมวลเบา
อิฐมวลเบาเป็นวัสดุที่ผลิตมาจากการนำ ทราย ซีเมนต์ ปูนขาว ยิปซั่ม และผงอลูมิเนียม
มีฟองอากาศมากประมาณ 75% ทำให้เบา(ลอยน้ำได้) ฟองอากาศเป็น closed cell ไม่ดูดซึมน้ำ(ดูดซึมน้ำน้อยกว่าอิฐมอญ 4 เท่า)
ความเบาก็จะทำให้ประหยัดโครงสร้าง เป็นฉนวนความร้อน ค่าการต้านทานความร้อนดีกว่าคอนกรีตบล็อก 4 เท่า ดีกว่าอิฐมอญ 6-8 เท่า
ไม่สะสมความร้อน ไม่ติดไฟ ทนไฟ 1,100 องศาได้นาน 4 ชม. กันเสียงได้ดี เมื่อฉาบจะแตกร้าวน้อยกว่าก่ออิฐฉาบปูน เนื่องจากตัวบล็อกกับปูนฉาบมีส่วนผสมที่ใกล้เคียงกัน
ขนาดของอิฐมวลเบาที่ใช้ในประเทศไทย
20x60x7, 20x60x7.5, 20x60x10,20x60x12.5, 20x60x15, 20x60x17.5, 20x60x20 ซม.
มาตรฐานวัสดุ อิฐมวลเบา
1. วัสดุก่อผนังคอนกรีตมวลเบา ขนาดตามแบบระบุ ไม่แตกหัก ไม่บิ่น ไม่มีรอยร้าว
2. ปูนก่อ สำหรับคอนกรีตมวลเบาสามารถก่อได้ประมาณ 30-36 ตารางเมตรต่อ 1 ถุง ซึ่งปูนก่อทั่ว ไป จะได้แค่ประมาณ 9 ตารางเมตรต่อ 1 ถุง (คำนวณเมื่อมีการผสมที่ ปูน 1 ส่วน : ทราย 2 ส่วน : น้ำ 1 ส่วน)
2.1 ปูนตราเสือคู่สำหรับก่ออิฐมวลเบา : ถุงสีเขียวอ่อน (ประมาณ 36 ตร.ม. ต่อ 1 ถุง)
2.2 ปูนอินทรีย์มอร์ต้าร์แม็กซ์สำหรับก่ออิฐมวลเบา : ถุงสีม่วง (ประมาณ 36 ตร.ม. ต่อ 1 ถุง)
2.3 ปูนจิงโจ้ (ประมาณ 30 ตร.ม. ต่อ 1 ถุง)
3. ปูนฉาบ ควรเลือกปูนฉาบอิฐมวลเบาหรือปูนสำเร็จฉาบทั่วไปมาใช้ เพราะจะให้ยึดเกาะที่ดีกว่า ปูนที่ต้องผสมเอง และสามารถฉาบได้บางกว่าทำให้มีต้นทุนการใช้ใกล้เคียงกว่าปูนที่ยังไม่ผสม
3.1 ปูนตราเสือคู่สำหรับอิฐมวลเบา : ถุงสีฟ้า ( 1 ถุง ผสมน้ำ 14 ลิตร ฉาบได้ประมาณ 4
ตร.ม.)
3.2 ปูนอินทรีมอร์ต้าร์แม็กซ์สำหรับอิฐมวลเบา : ถุงสีฟ้า ( 1 ถุง ผสมน้ำ 14 ลิตร ฉาบได้
ประมาณ 4 ตร.ม.)
3.3 ปูนตราเสือคู่ ปูนสำเร็จฉาบทั่วไป : ถุงสีเขียว ( 1 ถุง ผสมน้ำ 14 ลิตร ฉาบได้ประมาณ 4
ตร.ม.)
3.4 ปูนอินทรีมอร์ต้าร์แม็กซ์ ปูนฉาบทั่วไป : ถุงสีเขียวอ่อน ( 1 ถุง ผสมน้ำ 14 ลิตร ฉาบได้
ประมาณ 4 ตร.ม.)
เพื่อให้มั่นใจว่าอิฐมวลเบา จะมีคุณภาพที่ดี และได้มาตรฐานเดียวกันกับทั่วโลกที่ผลิตจากลิขสิทธิ์ของ HEBEL Technology ทุกขั้นตอนในกระบวนการผลิตจึงมีระบบตรวจสอบ และควบคุมคุณภาพ ตามมาตรฐานเยอรมัน รวมทั้งมาตรฐานอุตสาหกรรมของไทย เริ่มตั้งแต่การทดสอบคุณภาพวัตถุดิบที่จะนำมาใช้งาน ตลอดจนขั้นตอนสุดท้าย อิฐมวลเบา จะถูกนำมาตรวจสอบคุณสมบัติที่สำคัญ เช่น แรงกด, น้ำหนักเมื่อแห้ง เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อย้ำความมั่นใจในคุณภาพของอิฐมวลเบา
ด้วยคุณภาพที่ได้มาตรฐานระดับสากล ทำให้ผลิตภัณฑ์อิฐมวลเบา ได้รับการรับรองเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม จากสำนักมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือ สมอ. กระทรวงอุตสาหกรรม มอก. 1505-2541 : ชิ้นส่วนคอนกรีตมวลเบาแบบมีฟองอากาศ-อบไอน้ำ
จัดทำบทความโดย: ก่อสร้างไทย ดอทคอม
วิศวกรออกแบบ :(Civil Design Engineer)
สงวนลิขสิทธิ์บทความ ห้ามนำไปเผยแพร่ ก่อนได้รับอนุญาตจาก ;ก่อสร้างไทยดอท คอม
ความทั้งหมดในเว็บนี้ สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539
ผู้ใดฝ่าฝืนถือว่าทำผิดกฏหมายฐานละเมิดลิขสิทธิ์และจะถูกดำเนินคดีตามกฏหมาย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น